วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์
     ในสังคมวันนี้ ความซื่อสัตย์ได้กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อคนส่วนใหญ่ละเลย ด้วยจิตสำนึกผิดชอบที่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย แต่ในความจริงแล้วความซื่อสัตย์เป็นเรื่องท้าทายใจอยู่ทุกขณะจิต เราต้องตัดสินใจที่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าเราจะยังเดินอยู่ในกรอบแห่งความถูกต้องหรือไม่ ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องที่ต้องวัดได้ในขณะที่ยังไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมาคอยบังคับอีกด้วย

     ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง   :   ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด

     การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ

      การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น   :   ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม

     หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง

     สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง

     ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ   :   เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล

     ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย   :   ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หากเราไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่เราก็จะไม่ซื่อสัตย์ด้วย ไม่ว่าจะกระทำการใดเราควรได้กระทำด้วยความรับผิดชอบตามกฎระเบียบ หากทำผิดก็ต้องรับผิด อย่าพลิกแพลงหรือแก้ตัว การแก้ตัวนั้นถือได้ว่า เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง   ถึงแม้อาจจะฟังดีมีเหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและกลับยิ่งเป็นการลดคุณค่าตัวเองมากยิ่งขึ้น หากเราทำดีมาร้อยครั้งแต่เมื่อเราทำผิดและแก้ตัว บุคคลอื่นก็จะเริ่มสงสัยไม่ไว้วางใจเรา เริ่มไม่อยากมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเรา ดังนั้น เราจึงควรยอมรับความจริงได้แม้เราผิดพลาดไป และดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความซื่อสัตย์ที่เราพากเพียรทำไว้นั้นจะสามารถปกป้องเราไว้ได้อย่างแน่นอน

     ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้   : ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่มได้ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา

     ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หัวใจชายหนุ่ม


สรุปใจความสำคัญของจดหมาย หัวใจชายหนุ่ม

ฉบับที่ 1 
            นายประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกันเป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนายประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายในเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับที่ท่าเรืออยู่แล้ว

ฉบับที่ 4
       จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ย เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง ซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้งปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ยก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย


ฉบับที่ 5
      จดหมายฉบับที่ 5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรมพานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พอกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร

ฉบับที่ 6
      จดหมายฉบับที่ 6 กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาวทุกวัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย

ฉบับที่ 9
       จดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.

ฉบับที่ 11
       ประพันธ์กลับกรุงเทพได้ 3 อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่ ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไร ไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ

ฉบับที่ 12
       แม่อุไรได้แท้งลูก และสิ้นรักประพันธ์แล้ว แต่ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตากรรม แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธฉุนเฉียว นานเข้าห้างร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาที่ประพันธ์ ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไร แต่แม่อุไรกลับสวนกลับมาว่า ประพันธ์ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน และเธอก็จะไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ประพันธ์จึงต้องไปขอเงินพ่อเพื่อใช้หนี้ ต่อมาพ่อของประพันธ์จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์เรื่องจะไม่ชดใช้หนี้ให้แม่อุไร เมื่อแม่อุไรเห็นแจ้งความ จึงลงย้อนกลับบ้าง แล้วแม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อของเธอ คุณหลวงเทพปัญหามาหาประพันธ์ คุยเรื่องต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยว อยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีกเป็นชิ้นๆ กลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหาประพันธ์ เพื่อบอกว่าแม่อุไรไปค้างบ้านพระยาตระเวนนคร แล้ว และหลวงเทพก็รับธุระเรื่องขอหย่า ตอนนี้ประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง

ฉบับที่ 13
      ประพันธ์มีความสุขที่ได้กลับมาเป็นโสดอีกครั้ง ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวนพระยาตระเวนมีนางบำเรออยู่ถึง 7 นาง และทั้งหมดก็แผลงฤทธิ์เวลาพระยาไม่อยู่ พระยาตระเวนจึงหาบ้านให้แม่อุไรอยู่อีกหนึ่งหลัง ประพันธ์ได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน มาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า ประพันธ์ เข้าประจำกรมม้าหลวง

ฉบับที่ 15
       ประพันธ์คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาคงจะสนุกมาก พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสด เนื่องจากพระยาตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ได้เป็นผัวเมียกันตามกฎหมาย ตอนนี้พระยาตระเวนติดผู้หญิงที่ชื่อสร้อย แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้

ฉบับที่ 17 
       ประพันธ์ไปอยู่ที่ค่ายตอนนี้ได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้น พอกลับบ้าน แม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่บ้าน หล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเลี้ยงหล่อนอีกครั้ง เพราะหล่อนไม่มีที่ไป บ้านที่หล่อนเคยอยู่ พระยาตระเวนก็ยกให้แม่สร้อย จะไปหาพ่อ ก็เคยพูด อวดดีกับพ่อไว้ แต่ประพันธ์เห็นว่าให้หล่อนกลับไปง้อพ่อจะดีกว่า หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่กับพ่อ

ฉบับที่ 18
       แม่อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วง ส่วนประพันธ์ก็ได้รักชอบพอกับ นางสาวศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก